การเตรียมตัวก่อนผ่าตัด

ศึกษาข้อมูลเกี่ยวกับทวารเทียมและผลกระทบหลังการผ่าตัด

ก่อนการผ่าตัด คุณอาจมีความกังวลใจด้านภาพลักณ์หรือรู้สึกเครียด แต่ถ้าหากคุณมีการเตรียมตัวที่ดีตั้งแต่ก่อนผ่าตัด ก็จะทำให้คุณมีเวลาสำหรับการวางแผนเพื่อจัดการกับผลกระทบหลังการผ่าตัดได้ดียิ่งขึ้น

หัวข้อนี้ประกอบด้วยคำถามที่พบได้บ่อยและคำแนะนำเพื่อเป็นแนวทางสำหรับการเตรียมตัวของคุณ

ศึกษาข้อมูลเกี่ยวกับระบบทางเดินอาหาร ระบบขับถ่าย ระบบปัสสาวะและประเภทของทวารเทียม

ทวารเทียมคืออะไร?

ทวารเทียม เกิดจากการผ่าตัดสร้างรูเปิดทางหน้าท้องเพื่อใช้เป็นช่องสำหรับระบายสิ่งขับถ่าย (อุจจาระหรือปัสสาวะ) ออกจากร่างกาย สาเหตุของการผ่าตัดสร้างทวารเทียมมีได้หลายอย่าง ไม่ว่าจะเป็นการผ่าตัดเพื่อรักษาโรคบางชนิด เช่น โรคมะเร็ง, โรคลำไส้อักเสบเรื้อรัง, โรคถุงผนังลำไส้อักเสบ หรือจากภาวะลำไส้อุดตัน รวมถึงการเกิดอุบัติเหตุที่มีผลต่อระบบขับถ่ายหรือระบบปัสสาวะ

ทวารเทียมมี 3 ประเภท หากแบ่งตามระบบขับถ่ายและระบบปัสสาวะ คือ โคลอสโตมี (ทวารเทียมระบบลำไส้ใหญ่), อิลิออสโตมี (ทวารเทียมระบบลำไส้เล็ก) และยูรอสโตมี (ทวารเทียมระบบปัสสาวะ)

ศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมด้านโคลอสโตมี (ทวารเทียมระบบลำไส้ใหญ่)

ทวารเทียมระบบลำไส้ใหญ่

โคลอสโตมี (ทวารเทียมระบบลำไส้ใหญ่) เกิดจากการใช้ลำไส้ใหญ่บางส่วนมาสร้างเป็นรูเปิดเพื่อระบายอุจจาระออกจากร่างกาย

ศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมด้านอิลิออสโตมี (ทวารเทียมระบบลำไส้เล็ก)

ทวารเทียมระบบลำไส้เล็ก

อิลิออสโตมี (ทวารเทียมระบบลำไส้เล็ก) เกิดจากการนำลำไส้เล็กส่วนปลาย (ileum) มาสร้างเป็นรูเปิดเพื่อระบายอุจจาระออกจากร่างกาย

ศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมด้านยูรอสโตมี (ทวารเทียมระบบปัสสาวะ)

ทวารเทียมระบบปัสสาวะ

หากระบบปัสสาวะหรือกระเพาะปัสสาวะของคุณไม่สามารถทำงานได้อย่างปกติ แพทย์อาจพิจารณาผ่าตัดสร้างยูรอสโตมี (ทวารเทียมระบบปัสสาวะ อาจเรียกว่า ileal conduit หรือ a Bricker bladder ก็ได้)

ทำไมฉันจึงต้องติดถุงรองรับสิ่งขับถ่ายไว้ที่หน้าท้องอยู่ตลอดเวลา?

ไม่ว่าคุณจะมีทวารเทียมประเภทใด ก็จะต้องติดถุงรองรับสิ่งขับถ่ายไว้ที่หน้าท้องตลอดเวลา เพราะทวารเทียมไม่สามารถกลั้นได้ จึงอาจมีสิ่งขับถ่ายออกมาจากทวารเทียมได้ทุกเมื่อ ปัจจุบันถุงรองรับสิ่งขับถ่ายได้พัฒนาออกมาให้มีความหลากหลาย เพื่อตอบโจทย์สรีระที่ต่างกันและลักษณะสิ่งขับถ่ายที่ต่างกันของผู้มีทวารเทียม ทำให้คุณใช้ชีวิตประจำวันได้สะดวกมากยิ่งขึ้น

ปกป้องได้อย่างมั่นใจ

ปัจจุบันถุงรองรับสิ่งขับถ่ายได้พัฒนาออกมาให้มีความหลากหลายเพื่อให้เหมาะกับทวารเทียมแต่ละประเภท ไม่ว่าจะเป็นทวารเทียมระบบลำไส้ใหญ่ ทวารเทียมระบบลำไส้เล็ก หรือทวารเทียมระบบปัสสาวะ ในขณะที่คุณติดถุงทวารเทียมไว้ที่หน้าท้อง ผู้อื่นจะไม่ทราบหรือมองไม่เห็นเนื่องจากปัจจุบันบริษัทได้พัฒนาให้ถุงมีรูปแบบที่ปกปิดได้อย่างมิดชิด

พยาบาลด้านการดูแลทวารเทียมจะเป็นผู้ประเมินว่าอุปกรณ์ใดที่เหมาะสมรวมถึงเป็นผู้สอนวิธีใช้งานอุปกรณ์ชนิดนั้นให้กับคุณ การติดอุปกรณ์ครั้งแรก คุณอาจรู้สึกไม่คุ้นชินหรืออาจรู้สึกรับไม่ได้ แต่ถ้าหากคุณลองเปิดใจเพื่อเรียนรู้และปรับตัว ไม่นานคุณก็จะพบว่าการมีทวารเทียมไม่ได้แย่อย่างที่เคยคิดไว้

การเปลี่ยนถุงรองรับสิ่งขับถ่าย

ควรเปลี่ยนถุงรองรับสิ่งขับถ่ายบ่อยแค่ไหน ขึ้นอยู่กับประเภทของทวารเทียม ดังนี้:

  • โคลอสโตมี (ทวารเทียมระบบลำไส้ใหญ่): ขึ้นอยู่กับปริมาณอุจจาระในแต่ละวัน หากใช้ถุงปลายปิดควรเปลี่ยนถุงใบใหม่ วันละ 1-3 ครั้ง แต่ถ้าหากใช้ถุงปลายเปิดควรเทอุจจาระทิ้ง วันละ 1-3 ครั้ง
  • อิลิออสโตมี (ทวารเทียมระบบลำไส้เล็ก): ขึ้นอยู่กับปริมาณอุจจาระในแต่ละวัน ควรใช้ถุงปลายเปิดและเทอุจจาระออกจากถุงเมื่อมีปริมาณประมาณหนึ่งในสามของถุง
  • ยูรอสโตมี (ทวารเทียมระบบปัสสาวะ): ขึ้นอยู่กับปริมาณปัสสาวะในแต่ละวัน ควรใช้ถุงรองรับปัสสาวะโดยเฉพาะและเทปัสสาวะออกจากถุงเมื่อมีปริมาณประมาณหนึ่งในสามของถุง แต่ช่วงกลางคืน แนะนำให้เชื่อมต่อถุงรองรับปัสสาวะเข้ากับถุงเก็บปัสสาวะขนาดใหญ่ (ไนท์ แบ็ก, night bag) เพื่อจะได้ไม่ต้องตื่นขึ้นมาเทปัสสาวะระหว่างการนอนหลับ

ลักษณะภายนอกของทวารเทียมเป็นอย่างไร และทวารเทียมมีความรู้สึกหรือไม่?

ลักษณะภายนอกของทวารเทียมที่ปกติ คือ มีสีแดงและชุ่มชื้น ยาวยื่นออกมาจากหน้าท้องเล็กน้อย

หลังการผ่าตัดทันที ทวารเทียมจะบวมและมีขนาดใหญ่แต่จะไม่มีความรู้สึกใดๆและไม่เจ็บ เมื่อเวลาผ่านไปทวารเทียมจะค่อยๆยุบบวมและมีขนาดเล็กลงลง เมื่อครบ 6 - 8 สัปดาห์ ทวารเทียมก็จะมีขนาดคงที่

ลักษณะภายนอกของทวารเทียมที่ปกติ คือ มีสีแดงและชุ่มชื้น คล้ายกับเยื่อบุข้างกระพุ้งแก้มในช่องปาก ทวารเทียมไม่มีเส้นประสาทจึงไม่มีความรู้สึกใดๆ แต่ถ้ากระแทกหรือกดแรงๆก็จะทำให้ทวารเทียมเกิดบาดแผลขึ้นได้ ดังนั้นจะต้องสัมผัสทวารเทียมเทียมอย่างเบามือ โดยเฉพาะเวลาทำความสะอาด ถ้าหากมีเลือดซึมรอบนอกของทวารเทียม แนะนำให้ใช้ผ้าสะอาดกดลงไปเบาๆ ไม่นานเลือดก็มักจะหยุดไปได้เอง

ทวารเทียมมีขนาดและรูปร่างและได้หลายแบบ ขึ้นอยู่กับข้อจำกัดของแต่ละบุคคล เช่น บางคนอาจมีทวารเทียมค่อนข้างสั้น ในขณะที่บางคนอาจมีทวารเทียมยาว บางคนมีทวารเทียมทรงกลม แต่บางคนมีทวารเทียมทรงรี

หลังการผ่าตัดสร้างทวารเทียม

ข้อควรทราบสำหรับระยะหลังการผ่าตัด

ศึกษาข้อมูลเพิ่มเติม เพื่อวางแผนปรับกิจวัตรประจำวันให้เหมาะสมกับการขับถ่ายทางทวารเทียม

ลงทะเบียนสมัครโครงการ โคโลพลาสต์® แคร์

โคโลพลาสต์® แคร์สร้างความแตกต่างได้อย่างไร

  • ให้คำแนะนำที่เชื่อถือได้
  • ทบทวนความเข้าใจเกี่ยวกับวิธีดูแลทวารเทียมที่คุณได้เรียนรู้มาจากพยาบาลในโรงพยาบาลที่เข้ารับการรักษา
  • ให้คำแนะนำวิธีใช้อุปกรณ์อย่างถูกวิธี
  • ให้ตัวอย่างผลิตภัณฑ์ที่เกี่ยวข้อง

เมื่อมีทวารเทียม อาจทำให้การใช้ชีวิตเปลี่ยนแปลงไป     

โทรปรึกษาเราได้ที่ +090-596-2888 

เราทีมมีผู้เชี่ยวชาญคอยให้คำแนะนำผ่านทางโทรศัพท์